ผู้วิจัย สุญาณี บัวชุม
หน่วยงานที่ทำ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติ) สาขาวิชาสถิติ ภาควิชาสถิติ
พ.ศ. 2537
วัตถุประสงค์
1. ลักษณะการแจกแจงของน้ำหนักทารกที่อายุครรภ์ ≤ 35 สัปดาห์ มีลักษณะเป็นแบบเบ้และมีการแจกแจงใกล้เคียงปกติเมื่อข้อมูลมีจำนวนมากขึ้นในช่วงอายุครรภ์ตั้งแต่ 35 สัปดาห์ขึ้นไป
2. การสร้าง Centile chart ด้วยการใช้ ตัวแบบการถดถอยเชิงเส้น มาช่วยในการวิเคราะห์ และใช้ค่าเศษตกค้างจากสมการถดถอยมาประมาณค่า Centile ต่างๆ ร่วมกับเส้นถดถอยด้วยวิธีต่างกัน 3 วิธี พบว่าวิธีที่ 3 คือ การแปลค่าเศษตกค้าง เพื่อให้ค่าเศษตกค้างที่แปลงแล้ว มีการแจกแจงปกติ และการประมาณ Centile จากค่าเศษตกค้างที่แปลงแล้ว แล้วแปลงกลับอีกครั้งให้อยู่ในมาตราเดิม วิธีนี้จำทำให้ ช่วงกว้างของ Centile ค่าต่าง ๆ แคบกว่าวิธีอื่นๆ งานวิจัยนี้จึงใช้วิธีที่ 3 มาประมาณ Centile chart ที่มีอายุครรภ์อยู่ใช่วงต้น
3. เนื่องจากน้ำหนักทารกเฉลี่ยกับค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของน้ำหนักทารกที่แต่ละอายุครรภ์มีความสัมพันธ์กัน จึงทำการปรับน้ำหนักของทารก มีความเหมาะสมที่จะนำไปวิเคราะห์ทางสถิติต่อไป พบว่าการใช้อัตราส่วนน้ำหนักทารก ระหว่างน้ำหนักทารกที่แต่ละอายุครรภ์กับน้ำหนักเฉลี่ยที่คาดที่แต่ละอายุครรภ์ มาคำนวณน้ำหนักทารกเฉลี่ยที่คาด จะทำให้ข้อมูลอัตราส่วนน้ำหนักทารกเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานในอิสระกับอายุครรภ์ และมีการแจกแจงใกล้เคียงปกติ ดังนั้นจึงสามารถนำข้อมูลที่ปรับแล้วไปวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อน้ำหนักทารกต่อไป
วิธีดำเนินงาน การศึกษาการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์มารดา โดยการสร้างโค้งการเจริญเติบโตเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการปรับปรุงสุขภาพอนามัยของทารกนั้น โค้งการเจริญเติบโตของทารกนี้สร้างขึ้นจาก Centile chart ซึ่งเป็นผังแสดงค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 3 , 10, 50 , 90 และ 97 ของน้ำหนักทารกที่แต่ละอายุครรภ์ การสร้าง Centile chart ในงานวิจัยนี้จะทำการศึกษาทารกแรกคลอดที่มีอายุครรภ์อยู่ในช่วงต้น ( ≤ 30 สัปดาห์ ) เพราะ Centile chart ที่ใช้กันอยู่ส่วนใหญ่สร้างขึ้นจากข้อมูลน้ำหนักทารกที่มีอายุครรภ์ 28 – 42 สัปดาห์เท่านั้น การนำน้ำหนักทารกแรกคลอดที่มีอายุตลอดที่มีอายุครรภ์อยู่ในช่วงต้นมารวม เพื่อสร้าง Centile chart ด้วยแล้ว จะไม่เหมาะสมเพราะทารกเหล่านี้มีจำนวนน้อย และลักษณะการแจกแจงของข้อมูลที่แต่ละอายุครรภ์ไม่เป็นแบบปกติ ทำให้ไม่สามารถสร้าง Centile chart สำหรับทารกที่มีอายุครรภ์อยู่ในช่วงต้นได้
Log (น้ำหนักทารก) = 3.7827 + 0.1158 (อายุครรภ์)
คำนวณค่าเศษตกค้างจากสมการถดถอยและใช้ค่าเศษตกค้างมาประมาณ Centile chart ต่างๆ ร่วมกับเส้นถดถอย การประมาณค่า Centile chart รอบเส้นถดถอยโดยค่าเศษตกค้างนี้สามารถทำได้ 3 วิธีคือ
วิธีที่ 1 ประมาณ Centile chart โดยตรงจากการแจกแจงของเศษตกค้างโดยไม่คำนึงถึงลักษณะการแจกแจงของค่าเศษตกค้าง ด้วยการคำนวณเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 3 , 10 , 50 , 90 และ 97 ของค่าเศษตกค้าง
วิธีที่ 2 สมมุติให้ค่าเศษตกค้างมีการแจกแจงปกติ และประมาณ Centile chart โดยการหาค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 3 , 10 , 50 , 90 และ 97 จากการแจกแจงแบบปกติของค่าเศษตกค้าง
วิธีที่ 3 ตรวจสอบการแจกแจงของค่าเศษตกค้างของ log (น้ำหนักทารก) พบว่ามีลักษณะแบบเบ้ จึงทำการแปลงเศษตกค้าง เพื่อให้เศษตกค้างที่แปลงแล้วมีการแจกแจงปกติ ซึ่งพบว่าค่า Antilogarithm ของค่าเศษตกค้างที่แปลงแล้วมีการแจกแจงปกติ จึงแปลงค่าเศษตกค้างนี้ให้อยู่ในค่า Antilogarithm แล้วทำการประมาณ Centile ของเศษตกค้าง จากการแจกแจงปกติ แล้วแปลงกลับอีกครั้ง
นำค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ของค่าเศษตกค้างทั้ง 3 วิธี มาประมาณ Centile ของน้ำหนักทารกจากเส้นถดถอยได้ดังสมการ
P-centile (log(น้ำหนักทารก)) = 3.7827 + 0.1158 (อายุครรภ์) + P – centile (ค่าเศษตกค้าง)
และได้ Centile และ Centile chart ของน้ำหนักทารกที่มีอายุครรภ์อยู่ในช่วงต้นที่คำนวณโดยวิธีที่ 1, 2 และ 3 ดังตารางที่ 8 , 9 , 10 และ ภาพที่ 6, 7 และ 8 ตามลำดับ
จากการศึกษาพบว่าช่วงกว้างของ Centile ที่แต่ละอายุครรภ์ของวิธีที่ 1, 2 และ 3 ให้ช่วงกว้างระหว่าง 3 % กับ 97% และ 10% กับ 90% ดังตารางที่ 12 และ 13 ตามลำดับ
จะเห็นว่าวิธีที่ 3 ให้ช่วงกว้างของ Centile ค่าต่างๆ แคบกว่าวิธีอื่นๆ ดังนั้น วิธีที 3 จึงเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการสร้าง Centile chart