math - เอมมี่ โนเตอร์
  Home
  Contact
  Guestbook
  ประวัติ ปาสคาล (Blaise Pascal)
  งานวิจัยที่ 1
  งานวิจัยที่ 2
  งานวิจัยที่ 3
  งานวิจัยที่ 4
  งานวิจัยที่ 5
  พีธาคอรัส
  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
  ยูคลิด
  ไฮพาเทีย
  ออกัสตา แอดา ไบรอน
  ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล
  โซฟี เกอร์มัง
  เอมมี่ โนเตอร์
  เธลิส
  กาลิเลโอ กาลิเลอี
  ฟริดริก เกาส์
  แฟร์มาต์
  เซอร์ ไอแซค นิวตัน
  อาร์คีมีดีส
  นิโคลาส โคเปอร์นิคัส
  ชาร์ลส แบบเบจ
  จอห์น แนช จูเนียร
  George Cantor
  เซอร์ วิลเลียม โรแวน แฮมิลทัน
  เรอเน เดส์การ์ตส์
  จอห์น ฟอน นอยมันน์
  โยเชียร์ วิลลาร์ด กิบส์
  เลออนฮาร์ด ออยเลอร์
  จอห์น เนเปียร์
  พอล แอร์ดิช
  แอลัน ทัวริง
  อองรี ปวงกาเร
  นีลส์ เฮนริก อาเบล
  อันเดรย์ คอลโมโกรอฟ
  ศรีนิวาสะ รามานุชัน
  ประวัติส่วนตัว

 

เอมมี่ โนเตอร์

 

( EmmyAmalieNoether )

Born: 23 March 1882 in Erlangen, Bavaria, Germany
Died: 14 April 1935 in Bryn Mawr, Pennsylvania, USA


EmmyAmalieNoetherเกิดเมื่อวันที่23มีนาคมพ.ศ.2425(รัชสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)ที่เมืองErlangenในแคว้นBavariaของเยอรมนีเธอมีบิดาเชื้่่อสายยิวชื่อMaxผู้เป็นศาสตราจารย์คณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยErlangenส่วนมารดาชื่อIdaAmaliaก็เป็นยิวที่ครอบครัวมีฐานะมั่งคั่งในเมืองCologneในวัยเด็กNoetherได้รับการเลี้ยงดูเช่นเด็กทั่วๆไปคือได้เข้าเรียนที่โรงเรียนสตรีชั้นสูงโดยเรียนอังกฤษฝรั่งเศสคณิตศาสตร์เปียโนและเต้นรำจนกระทั่งอายุ13ปีเธอก็สำเร็จได้รับประกาศนียบัตรว่ามีความสามารถในการสอนภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษได้ดีแต่Noetherไม่ต้องการเป็นครูภาษาเธอต้องการเรียนวิชายากๆเช่นคณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแต่ในสมัยนั้นมหาวิทยาลัยเยอรมันไม่ยินยอมให้ผู้หญิงเรียนทั้งๆที่มหาวิทยาลัยในประเทศเพื่อนบ้านเช่นฝรั่งเศสได้เปิดประตูให้สตรีเข้าเรียนตั้งแต่ปี2414อังกฤษในปี2421และอิตาลีในปี2428หรือแม้แต่มหาวิทยาลัยErlangenที่บิดาเธอสอนอยู่ก็ปฏิเสธไม่รับนิสิตหญิงเข้าเรียนโดยอ้างว่าผู้หญิงจะทำให้บรรยากาศวิชาการของมหาวิทยาลัยเสีย

ถึงแม้จะเผชิญอุปสรรคและข้อห้ามมากมายแต่EmmyNoetherก็มิได้ย่อท้อเธอได้ขออนุญาตD.Hilbert,H.Minkowski,F.Kleinผู้เป็นศาสตราจารย์คณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยGottengenเข้าไปนั่งฟังคำบรรยายคณิตศาสตร์บางวิชาและเมื่อถึงปี2447ที่มหาวิทยาลัยErlangenยินยอมให้ผู้หญิงเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้เธอก็ได้เข้าเรียนที่นั่นและได้ทำวิทยานิพนธ์คณิตศาสตร์เรื่อง“Oncompletesystemsofinvariantsforternarybiquadratieforms”โดยมีเพื่อนของบิดาเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

ถึงแม้จะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกแล้วแต่เธอก็มิได้ออกไปหางานทำที่อื่นเพราะต้องอยู่ดูแลบิดาที่ล้มป่วยเป็นอัมพาตและทำงานสอนพิเศษเล็กน้อยในยามว่างแต่ใช้เวลาส่วนใหญ่ทำงานวิจัยคณิตศาสตร์ร่วมกับErnstFischerศึกษาวิเคราะห์ปัญหาต่างๆตามแนวคิดของHilbertจนชื่อเสียงของเธอเริ่มปรากฏในอิตาลีเยอรมนีและออสเตรเลียการติดตามศึกษาผลงานตีพิมพ์ของNoetherทำให้HilbertและKleinรู้สึกประทับใจมากจึงได้เชิญเธอให้มาทำงานวิจัยร่วมกันที่มหาวิทยาลัยGottingenและพยายามหาตำแหน่งอาจารย์ให้แต่ก็ถูกบรรดาอาจารย์นักคณิตศาสตร์ชายในมหาวิทยาลัยต่อต้านโดยอ้างว่าเธอเป็นผู้หญิงการอ้างเช่นนี้ได้ทำให้Hilbertเดือดดาลมากจนถึงกับกล่าวว่ามหาวิทยาลัยไม่ควรแบ่งแยกบุคคลโดยใช้เกณฑ์เพศเพราะมหาวิทยาลัยไม่ใช่ห้องน้ำที่ต้องแบ่งแยกเพศของคนที่มาใช้สถานที่ถึงกระนั้นHilbertก็ยังขอร้องให้Noetherเป็นอาจารย์ช่วยสอนของเขาโดยในตารางสอนของHilbertจะมีชื่อของNoetherในฐานะอาจารย์ผู้ช่วยปรากฏอยู่

ในปีพ.ศ.2458Noetherได้พบทฤษฎีNoetherซึ่งเกี่ยวกับหลักการอนุรักษ์ต่างๆเช่นพลังงานโมเมนตัมเชิงเส้นและโมเมนตัมเชิงมุมว่าเกิดจากคุณสมบัติความสมมาตรของระบบและความยิ่งใหญ่ของทฤษฎีนี้คือสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในทฤษฎีกลศาสตร์ของนิวตันและในทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ด้วยความสามารถที่ประเสริฐของNoetherเรื่องนี้ทำให้ไอน์สไตน์ชื่นชมในความฉลาดเฉลียวของเธอมาก

นอกจากจะพบทฤษฎีการไม่แปรเปลี่ยน(theoryofinvariant)ในฟิสิกส์แล้วเธอยังมีผลงานที่สำคัญด้านคณิตศาสตร์บริสุทธิ์เช่นได้สร้างทฤษฎีringซึ่งเป็นพื้นฐานหนึ่งในการพัฒนาพีชคณิตยุคใหม่ด้วย

ทั้งๆที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จสูงแต่มหาวิทยาลัยในเยอรมนีก็ยังไม่ยอมรับเธอเข้าทำงานเป็นอาจารย์จนกระทั่งเธออายุ37ปีมหาวิทยาลัยGottingenจึงตอบรับเธอเป็นอาจารย์และอีก3ปีต่อมาเธอก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์โดยไม่มีภาระหน้าที่สอนใดๆและไม่มีเงินเดือนให้ด้วยถึงกระนั้นNoetherก็ยังรู้สึกดีที่ได้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้นิสิตปริญญาเอกหลายคนเพราะเธอได้มีโอกาสอภิปรายถกเถียงกับนิสิตและหลายครั้งที่การสนทนาทำให้เธอลืมตัวว่าเธอกำลังข้ามถนนจนนิสิตต้องเตือนให้เธอระมัดระวังหรือเวลากระโปรงชั้นในเธอโผล่ขณะเธอกำลังสอนเธอก็จะก้มตัวลงดึงมันออกแล้วโยนทิ้งไปหน้าห้องส่วนปากก็ยังพร่ำสอนสมการต่างๆต่อไปเหมือนไม่มีอะไรผิดปกติ

ตามปกตินักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายมักผลิตผลงานชิ้นสำคัญขณะอยู่ในวัยหนุ่มสาวแต่EmmyNoetherเป็นคนพิเศษที่ไม่เหมือนใครเพราะเธอตีพิมพ์ผลงานชิ้นยิ่งใหญ่ขณะเธออายุเกือบ40ปีและผลงานที่โดดเด่นของเธอคือการวิจัยปัญหาพีชคณิตชนิดnon-commutativeรวมทั้งเรื่องaxiomdevelopmentofalgebraและidealtheoryซึ่งมีเรื่องNoetherianringปรากฏเป็นครั้งแรกและนี่ก็คือผลงานที่สำคัญที่สุดของเธอและผลงานนี้มีอิทธิพลต่อวิชาพีชคณิตสมัยใหม่มาจนทุกวันนี้

เมื่อผลงานของเธอปรากฏชื่อเสียงของNoetherก็เริ่มเป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับในปีพ.ศ.2471เธอได้รับคำเชิญให้ไปบรรยายที่InternationalCongressซึ่งจัดที่เมืองBolognaในอิตาลีเธอได้รับการเชื้อเชิญให้ไปสอนที่มหาวิทยาลัยMoscowในรัสเซียและในปีพ.ศ.2475เธอได้รับเชิญให้เป็นองค์ปาฐกนำในการประชุมInternationalCongressที่เมืองZurichในสวิตเซอร์แลนด์

เมื่อกองทัพนาซีเรืองอำนาจบรรดาเจ้าหน้าที่รัฐที่มีเชื้อสายยิวถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัยบรรดาอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยAugustaGeorgiaซึ่งNoetherทำงานอยู่หลายคนถูกห้ามสอนและถูกห้ามทำงานที่มหาวิทยาลัยNoetherจึงต้องลอบสอนโดยการไปเยี่ยมบ้านของศิษย์และสอนหนังสือที่นั่นในขณะเดียวกันเธอได้ครุ่นคิดว่าจะต้องจัดการชีวิตของตนใหม่โดยการอพยพไปทำงานที่รัสเซียเพราะเธอมีเพื่อนชื่อAleksandrovซึ่งศรัทธาความสามารถของเธอมากแต่ในขณะเดียวกันบรรดานักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกันก็ได้พยายามเชิญให้เธอเดินทางไปเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยBrynMawrในรัฐPennsylvaniaด้วยโดยได้รับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิRockyfellerตามคำรับรองของN.Wiener

ภาควิชาคณิตศาสตร์ที่BrynMawrมีอาจารย์ประจำ4คนและนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา5คนNoetherต้องรับภาระสอนวิชาพีชคณิตนามธรรมให้แก่นิสิต4คนโดยสอนเป็นภาษาเยอรมันปนอังกฤษเธอเป็นครูที่พูดเสียงดังสายตาสั้นและมีบุคลิกภาพที่เป็นมิตรกับเพื่อนร่วมงานและศิษย์ทุกคนในวันเสาร์เธอชอบเดินเล่นกับศิษย์ไม่ว่าอากาศจะเลวร้ายเพียงไรเธอรู้สึกอบอุ่นมากขณะพำนักที่BrynMawrและใช้สถานที่นั่นเป็นที่ต้อนรับเพื่อนชาวเยอรมันที่อพยพมาจากอเมริกาในด้านการใช้ชีวิตส่วนตัวเธอดูไม่ค่อยเป็นสตรีนักเช่นไม่คิดมากเรื่องการแต่งตัวหรือเรื่องอาหารนิยมไว้ผมสั้นเพราะเวลาเธอไว้ผมยาวขณะเข้าห้องสอนเธอต้องรวบผมเพราะเวลาสมการบนกระดานดำตีกันวุ่นวายอารมณ์ตื่นเต้นของเธอทำให้มวยผมตกจนดูรุงรังไม่เรียบร้อย

หลังจากที่ทำงานในอเมริกาได้นาน1ปีNoetherได้กลับไปเยี่ยมบ้านเกิดที่เยอรมนีเธอรู้สึกตกใจมากที่ได้เห็นสภาพความเสื่อมโทรมของบ้านเมืองหลังจากที่เธอกลับมาอเมริกาได้ไม่นานเธอเข้ารับการผ่าตัดเนื้องอกในมดลูกและเสียชีวิตในวันที่14เมษายน2478ขณะอายุ53ปี

ก่อนที่เธอจะจากโลกไปเธอได้กล่าวกับเพื่อนว่าเธอชอบชีวิตของเธอที่BrynMawrยิ่งกว่าชีวิตของเธอในเยอรมนีมาก

ณวันนี้โลกมีนักคณิตศาสตร์สตรีหลายคนที่กำลังดำเนินชีวิตตามทางที่Noetherได้บุกเบิกไว้และกุลสตรีอีกหลายคนในอนาคตที่เห็นNoetherคือสตรีนักคณิตศาสตร์ในอุดมคติ

Today, there have been 21 visitors (24 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free