math - งานวิจัยที่ 2
  Home
  Contact
  Guestbook
  ประวัติ ปาสคาล (Blaise Pascal)
  งานวิจัยที่ 1
  งานวิจัยที่ 2
  งานวิจัยที่ 3
  งานวิจัยที่ 4
  งานวิจัยที่ 5
  พีธาคอรัส
  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
  ยูคลิด
  ไฮพาเทีย
  ออกัสตา แอดา ไบรอน
  ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล
  โซฟี เกอร์มัง
  เอมมี่ โนเตอร์
  เธลิส
  กาลิเลโอ กาลิเลอี
  ฟริดริก เกาส์
  แฟร์มาต์
  เซอร์ ไอแซค นิวตัน
  อาร์คีมีดีส
  นิโคลาส โคเปอร์นิคัส
  ชาร์ลส แบบเบจ
  จอห์น แนช จูเนียร
  George Cantor
  เซอร์ วิลเลียม โรแวน แฮมิลทัน
  เรอเน เดส์การ์ตส์
  จอห์น ฟอน นอยมันน์
  โยเชียร์ วิลลาร์ด กิบส์
  เลออนฮาร์ด ออยเลอร์
  จอห์น เนเปียร์
  พอล แอร์ดิช
  แอลัน ทัวริง
  อองรี ปวงกาเร
  นีลส์ เฮนริก อาเบล
  อันเดรย์ คอลโมโกรอฟ
  ศรีนิวาสะ รามานุชัน
  ประวัติส่วนตัว

 

ผู้วิจัย จารุภา   ตรีระพงศ์

หน่วยงานที่ทำ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติ)  สาขาวิชาสถิติ ภาควิชาสถิติ

พ.ศ. 2541

วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาเปรียบเทียบวิธีการประมาณแบบช่วง 3 วิธี  สำหรับผลต่างระหว่างค่าสัดส่วนของสองประชากรที่มีการแจกแจงแบบทวินามและเป็นอิสระต่อกัน   เกณฑ์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบ  คือ  ความกว้างเฉลี่ยและความน่าจะเป็นครอบคลุมขอความเชื่อมั่น   วิธีการประมาณที่ศึกษาคือ   วิธีของ  Hauck  และ  Anderson  วิธีของ  Peskun   และวิธีการประมาณอย่างง่ายบนพื้นฐานของการประมาณการแจกแจงของตัวประมาณด้วยการแจกแจงแบบปกติ   ความแตกต่างของวิธีการประมาณทั้ง 3  วิธีนี้อยู่ที่   รูปแบของค่าปรับความต่อเนื่องและความคลายเคลื่อนมาตรฐานของตัวประมาณ  การวิจัยใช้เทคนิคมอนติคาร์โลในการจำลองแบบ  สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

                ช่วงความเชื่อมั่นของวิธีการประมาณอย่างง่าย   มีความกว้างเฉลี่ยสั้นที่สุด   และมีค่าความน่าจะเป็นครอบคลุมต่ำกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนด   ช่วงความเชื่อมั่นของ  Peskun   มีความกว้างเฉลี่ยยาวที่สุดโดยมีค่าความน่าจะเป็นครอบคลุ่มสูงกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น  เมื่อกำหนดความมั่นใจ 90%  และ  95%   แต่มีค่าเท่ากับสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นในกรณีของความมั่นใจ  99%   ส่วนช่วงความเชื่อมั่นของ  Hauck และ Anderson   มีความกว้างเฉลี่ยที่กว้างกว่าของวิธีการประมาณอย่างง่ายเล็กน้อย   และค่าความน่าจะเป็นครอบคลุมเท่ากับค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนด

          เมื่อพิจารณาทั้งความน่าจะเป็นครอบคลุมและความกว้างเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นแล้ว   จะได้ว่า  วิธีของ Hauck และ Anderson  เหมาะสมที่สุดในการใช้ประมาณผลต่างระหว่างค่าสัดส่วนของสองประชากรแบบช่วง

                สำหรับอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ  ที่มีต่อช่วงความเชื่อมั่นนั้น  พบว่า   ความกว้างของช่วงไม่ขึ้นอยู่กับค่าสัดส่วนที่แท้จริงแต่ละค่า   แต่ขึ้นกับผลต่างระหว่างค่าสัดส่วน   เมื่อผลต่างระหว่างค่าสัดส่วนมากขึ้นความกว้างของช่วงจะลดลง   ขนาดตัวอย่างและความแตกต่างของขนาดตัวอย่างก็มีผลต่อความกว้างของช่วงเช่นกัน   ช่วงความเชื่อมั่นจะแคบเมื่อจำนวนตัวอย่างโดยรวมจากสองประชากรมีขนาดใหญ่   ส่วนค่าต่ำสุดของความถี่คาดหวัง   เมื่อมีค่ามาก   จะทำให้ช่วงความเชื่อมั่นแคบ

สรุปและข้อเสนอแนะ

                ผลการวิจัยเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบวิธีการประมาณช่วงความเชื่อมั่น  3  วิธี สำหรับผลต่างระหว่างค่าสัดส่วนของลักษณะที่สนใจในประชาชน  2  กลุ่มที่มีการแจกแบบทวินามและเป็นอิสระต่อกัน   โดยพิจารณาจากค่าความน่าจะเป็นครอบคลุมและค่าความกว้างของช่วงความเชื่อมั่นจากแต่ละวิธีการประมาณ  สรุปได้ว่า

                ช่วงความเชื่อมั่นจากวิธีการประมาณอย่างง่าย   มีความกว้างเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นสั้นที่สิ้นสุด  ซึ่งก็มีผลให้ค่าความน่าจะเป็นครอบคลุมต่ำกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนดในขณะที่วิธีการประมาณของ  Peskun  ให้ช่วงความเชื่อมั่นที่มีความกว้างเฉลี่ยมากที่สุด  ดั้งนั้นค่าความน่าจะเป็นครอบคลุมจึงสูงกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นกำหนดในกรณีของความมั่นใจ  90 %  และ 95%  แต่ค่าจะเท่ากับค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนดในกรณี 99%

          ส่วนวิธีการประมาณของ Hauck  และ  Anderson  ให้ช่วงความเชื่อมั่นที่มีความกว้างสั้นกว่าของวิธี  Peskun  แต่ยาวกว่าของวิธีการประมาณอย่างง่าย  ทั้งนี้ช่วงที่ได้จะมีค่าความน่าจะเป็นครอบคลุมเท่ากับค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนด   ดังนั้นวิธีการประมาณของ Hauck  และ  Anderson  จึงเป็นวิธีการประมาณช่วงความเชื่อมั่นที่เหมาะสมกว่าอีก  2  วิธี

                นอกจากนี้  เมื่อวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยต่างๆ  นอกเหนือจากวิธีการประมาณที่มีผลต่อค่าความน่าจะเป็นครอบคลุมและค่าความยาวของความเชื่อมั่น   จะพบว่า  ค่าสัดส่วนที่แท้จริงของแต่ละประชากร   จะไม่อิทธิพลต่อความกว้างของช่วงความเชื่อมั่น  ในขณะที่ผลต่างระหว่างค่าสัดส่วน,  ขนาดตัวอย่าง,  ค่าความถี่ที่คาดหวังที่ต่ำที่สุด  และ  ความแตกต่างขนาดตัวอย่าง  จะมีอิทธิพลต่อความกว้างเฉลี่ยของช่วงความน่าเชื่อมั่นอย่างมีนัยสำคัญ

                ขนาดของตัวอย่างและความแตกต่างของขนาดตัวอย่าง  จะมีอิทธิพลต่อความกว้างของช่วงความเชื่อมั่นเหมือนกัน   นั่นคือเมื่อจำนวนตัวอย่างโดยรวมจากสองประชากรมีขนาดเล็กช่วงความเชื่อมั่นจะกว้าง   แต่เมื่อจำนวนตัวอย่างโดยรวมจากสองประชากรมีขนาดใหญ่ขึ้น   ช่วงความเชื่อมั่นจะแคบลง  อย่างไรก็ตามความแตกต่างของขนาดตัวอย่าง ( n1 = 2n2)  ให้ค่าความกว้างเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นสั้นกว่าความเท่ากันของขนาดตัวอย่าง ( n1 = n2)  นั้นย่อมหมายความว่า   เมื่อตัวอย่างมีขนาดใหญ่ขึ้น   ค่าความกว้างเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นจะสั้น  และจะสั้นที่สุดเมื่อผลรวมของขนาดตัวอย่างมีค่ามากที่สุดคือ n1 = 200, n2 = 100

          ในแต่ละระดับของผลที่ต่างระหว่างค่าสัดส่วน   เมื่อสันส่วนของแต่ละประชากรมีค่าเข้าใกล้ 0 หรือ 1 แล้ว  ช่วงความเชื่อมั่นที่ได้จะทีค่าความกว้างเฉลี่ยที่สั้นกว่าเมื่อสัดส่วนของแต่ละประชากรมีค่าเข้าใกล้  ½  ทั้งนี้เมื่อผลต่างระหว่างค่าสัดส่วนมีค่าเพิ่มขึ้น   ความกว้างของช่วงความเชื่อมั่นจะมีค่าค่อย ๆ  ลดลง  นอกจากนี้ค่า  MCS  ก็จะมีอิทธิพลต่อความกว้างเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นด้วย  นั้นคือค่า  MCS  ที่มีค่ามากจะทำให้ช่วงความเชื่อมั่นมีความกว้างลดลง  จะเห็นได้ว่า  ค่า  MCS  มีอิทธิพลต่อความกว้างของช่วงในทิศทางตรงกันข้ามกับค่าขนาดของ  ตัวอย่าง   นั้นย่อมหมายความว่า  ค่า  MCS  จะมีอิทธิพลของค่าสัดส่วนของแต่ละประชากรแฝงอยู่ด้วย   จึงได้ว่าเมื่อค่าสัดส่วนของแต่ละประชากรที่มีค่าอยู่ใกล้ 0  และ 1 แล้ว MCS  จะมีค่าน้อย   ช่วงความเชื่อมั่นที่ได้จึงมีค่าความกว้างเฉลี่ยที่สั้น

                นอกจากนี้  วิธีการประมาณอย่างง่ายจะสามารถสร้างช่วงความเชื่อมั่นที่เหมาะสมสำหรับผลต่างระหว่างค่าสัดส่วนได้   เมื่อตัวอย่างมีขนาดตั้งแต่  50  ขึ้นไปสัมหรับสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ 90% และ  95%  ส่วนสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ  99%  ตัวอย่างควรจะมีขนาดตั้งแต่  80  ขึ้นไป

                ผู้วิจัยมีข้อสังเกตที่จะเป็นข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการวิจัยเรื่องประมาณค่าแบบช่วง  สำหรับผลต่างระหว่างค่าสัดส่วนของสองประชากรต่อไป   คือ   จากการวิจัยในครั้งนี้พบว่าทั้งขนาดของตัวอย่างและความแตกต่างของขนาดของตัวอย่าง   จะมีอิทธิพลต่อความกว้างเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่น   แต่เนื่องจากอิทธิพลของขนาดตัวอย่างซ้อนอยู่ในอิทธิพลของความแตกต่างของขนาดตัวอย่าง  ทำให้ไม่สามรถอิทธิพลของความแตกต่างระหว่างขนาดตัวอย่างออกมาได้ชัดเจน   ดังนั้นในการวิจัยครั้งต่อไปจึงควรจัดขนาดของตัวอย่างในการศึกษาให้สามารถศึกษาถึงอิทธิพลของความแตกต่างระหว่างขนาดตัวอย่างให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

 

 

Today, there have been 24 visitors (27 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free