อองรี ปวงกาเร
Born: 29 April 1854 in Nancy, Lorraine, France
Died: 17 July 1912 in Paris, France
อองรี ปวงกาเร, (Jules Henri Poincar?) เกิดเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1854 เสียชีวิต 17 กรกฏาคม ค.ศ. 1912
เป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์, นักฟิสิกส์ และนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่ดีสุดของฝรั่งเศส ในหนังสือประวัตินักคณิตศาสตร์ที่โด่งดังของอิริค เทมเพิล เบลล์ได้ให้เกียรติปวงกาเรว่าเป็น นักคณิตศาสตร์คนสุดท้ายผู้ล่วงรู้ครอบจักรวาล (universalist) เนื่องจากปวงกาเรเดินตามรอยของนักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต เช่น เกาส์ หรือ ออยเลอร์ หรือ นิวตัน ที่มีผลงานและรอบรู้ในแทบทุกสาขาของคณิตศาสตร์ (หลังจากยุคปวงกาเรก็ไม่ปรากฏนักคณิตศาสตร์คนได้รอบรู้ในแง่ลึกของทุกสาขาอีก ทั้งนี้เนื่องจากสาขาของคณิตศาสตร์นั้นเพิ่มขึ้นมากมายมหาศาลในปัจจุบัน โดยตัวปวงกาเรเองก็เป็นผู้ที่ก่อตั้งสาขาย่อยของคณิตศาสตร์ใหม่อีกหลายสาขา)
สาขาวิชาการที่ปวงกาเรได้อุทิศผลงานและมีผลกระทบสำคัญต่อวงการมากที่สุดได้แก่ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ และ กลศาสตร์ท้องฟ้า โดยผลงานที่โด่งดังของปวงกาเรมีมากมายเช่น
ปวงกาเรเป็นผู้ตั้งปัญหาข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร (Poincar? conjecture) หนึ่งในปัญหาที่มีชื่อเสียงที่สุดของคณิตศาสตร์
เมื่อครั้งที่เขาทำวิจัยอย่างจริงจังในปัญหาสามวัตถุ (three-body problem) เขาเป็นคนแรกที่ได้คนพบปรากฏการณ์เคออส และตัวเขาเองเป็นผู้ก่อตั้งและวางรากฐานทฤษฎีเคออสสมัยใหม่
ผลงานทางฟิสิกส์ของปวงกาเรเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจและแนวคิดตั้งต้นในทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ โดยไอน์สไตน์ได้เล่าในหนังสือชีวประวัติของเขาด้วยว่า หนังสือของปวงกาเรที่ชื่อ science and hypothesis มีอิทธิพลต่อแนวคิดเขามากควบคู่ไปกับงานของนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่น เช่น เฮนดริก ลอเรนซ์ (Hendrik Lorentz) และ เอิรนส์ มัค (Ernst Mach)
ปวงกาเรกรุ๊ป (Poincar? group) ในพีชคณิตสมัยใหม่ถูกตั้งชื่อขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ปวงกาเร
งานและปัญหาที่มีชื่อเสียง
งานชิ้นสำคัญที่ปวงกาเรได้อุทิศให้วงการคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มีดังต่อไปนี้:
ทอพอโลยีเชิงพีชคณิต (algebraic topology)
ทฤษฎีฟังก์ชันวิเคราะห์ของตัวแปรเชิงซ้อนหลายตัวแปร (the theory of analytic functions of several complex variables)
ทฤษฎีอาบีเลียนฟังก์ชัน (the theory of abelian functions)
เรขาคณิตเชิงพีชคณิต (algebraic geometry)
ทฤษฎีจำนวน (number theory)
ปัญหาสามวัตถุ (the three-body problem)
ทฤษฎีสมการไดโอแฟนไทน์ (the theory of diophantine equations)
ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า (the theory of electromagnetism)
ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (the special theory of relativity)
นอกจากนี้ปวงกาเรยังเป็นคนที่มีพรสวรรค์ในการเขียนและเล่าหลักการยากๆ ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้เข้าใจได้ง่าย เขาได้เขียนหนังสือคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในรูปแบบที่คนธรรมดาทั่วไปสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายหลายเล่ม
ทฤษฎีจำนวน (number theory) เป็นสาขาหนึ่งของคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของจำนวนเต็ม