math - งานวิจัยที่ 5
  Home
  Contact
  Guestbook
  ประวัติ ปาสคาล (Blaise Pascal)
  งานวิจัยที่ 1
  งานวิจัยที่ 2
  งานวิจัยที่ 3
  งานวิจัยที่ 4
  งานวิจัยที่ 5
  พีธาคอรัส
  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
  ยูคลิด
  ไฮพาเทีย
  ออกัสตา แอดา ไบรอน
  ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล
  โซฟี เกอร์มัง
  เอมมี่ โนเตอร์
  เธลิส
  กาลิเลโอ กาลิเลอี
  ฟริดริก เกาส์
  แฟร์มาต์
  เซอร์ ไอแซค นิวตัน
  อาร์คีมีดีส
  นิโคลาส โคเปอร์นิคัส
  ชาร์ลส แบบเบจ
  จอห์น แนช จูเนียร
  George Cantor
  เซอร์ วิลเลียม โรแวน แฮมิลทัน
  เรอเน เดส์การ์ตส์
  จอห์น ฟอน นอยมันน์
  โยเชียร์ วิลลาร์ด กิบส์
  เลออนฮาร์ด ออยเลอร์
  จอห์น เนเปียร์
  พอล แอร์ดิช
  แอลัน ทัวริง
  อองรี ปวงกาเร
  นีลส์ เฮนริก อาเบล
  อันเดรย์ คอลโมโกรอฟ
  ศรีนิวาสะ รามานุชัน
  ประวัติส่วนตัว

 

ผู้วิจัย นางสาวนันทวรรณ  อรรถบุตร

พ.ศ. 2534

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาระดับนัยที่สำคัญที่เกิดขึ้นจริง ( Observed significance livel )  และอำนาจการทดสอบ ( power of  the test )  ของตัวสถิติ  จุง บ๊อกซ์  ในการทดสอบรูปแบบ  autoregressive – moving average  ต่างๆ

2. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับค่า  ที่เหมาะสมในการใช้ตัวสถิติ จุง บ๊อกซ์  ทดสอบรูปแบบ autoregressive – moving average  ต่างๆ เมื่อมีจำนวนข้อมูลขนาดต่าง ๆ กัน

 

สรุปและข้อเสนอแนะ

                การศึกษาการทำงานของตัวสถิติ จุง บ๊อกซ์  ในที่นี้ได้เน้นในเรื่อง  ระดับนัยสำคัญที่เกิดขึ้นจริง  อำนาจการทดสอบ  และค่า m ของตัวสถิติ  จุง บ๊อกซ์  ที่ควรใช้ในการทดสอบความเหมาะสมของรูปแบบ      ARMA ต่างๆ  การประมาณค่าพารามิเตอร์ในรูปแบบเหล่านี้ใช้วิธี Least squares  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

ระดับนัยสำคัญที่เกิดขึ้นจริง

1.    ระดับนัยสำคัญที่เกิดขึ้นจริงในการทดสอบความเหมาะสมของรูปแบบ  ด้วยตัวสถิติ

จุง บ๊อกซ์  ส่วนใหญ่สูงกว่าระดับนัยสำคัญที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญ  แต่ก็มีบางกรณีที่ต่ำกว่าระดับนัยสำคัญที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญ

2.ระดับนัยสำคัญที่เกิดขึ้นจริงมีค่าไม่แตกต่างกันนัก  ไม่ว่าอนุกรมเวลาจะมีรูปแบบใดและมีค่าพารามิเตอร์เป็นเท่าใด  แต่เมื่อขนาดตัวอย่างต่างกันระดับนัยสำคัญที่เกิดขึ้นจริงมีค่าแตกต่างกันในบางรูปแบบ

3. เมื่อ m  มีค่ามากกว่า 6         ระดับนัยสำคัญที่เกิดขึ้นจริงไม่แตกต่างกัน  และมีค่าใกล้เคียงกับระดับนัยสำคัญที่กำหนดมากกว่าเมื่อ m เท่ากับ 6  ในทุกกรณีที่ศึกษา  ยกเว้นกรณีที่ข้อมูลอนุกรมเวลามีรูปแบบ MA ( 1 ) ซึ่งระดับนัยสำคัญที่เกิดขึ้นจริงไม่แตกต่างกัน  สำหรับทุกค่า m

 

อำนาจการทดสอบ

1. อำนาจการทดสอบของตัวสถิติ จุง บ๊อกซ์ จะเพิ่มขึ้น  เมื่อระดับนัยสำคัญสูงขึ้นโดยที่อำนาจการทดสอบจะเพิ่มขึ้นมากในบางกรณี

2. โดยทั่วอำนาจการทดสอบของตัวสถิติ จุง บ๊อกซ์  จะสูงขึ้น  เมื่อขนาดตัวอย่างเพิ่มขึ้น  ยกเว้นกรณีที่รูปแบบที่แท้จริงของอนุกรมเวลาเป็นเซตย่อยของรูปแบบที่กำหนด  ซึ่งการเพิ่มขนาดตัวอย่างอาจไม่ช่วยให้อำนาจการทดสอบสูงขึ้น  ส่วนค่าพารามิเตอร์มีผลต่ออำนาจการทดสอบมาก

                3. เมื่อ m เท่ากับ 6 อำนาจการทดสอบจะสูง  และเมื่อ m มีค่าสูงขึ้น  อำนาจการทดสอบมีแนวโน้มลดต่ำลง

 

ค่า m ที่เหมาะสมในการทดสอบ

 

                ในการทดสอบความเหมาะสมของรูปแบบ  หากรูปแบบที่แท้จริงเป็น AR( 1 ),

AR( 2 ), MA ( 1 )  และ MA( 2 ) พบว่า ค่า m ที่เหมาะสมของตัวสถิติ จุง บ๊อกซ์ ไม่ขึ้นกับรูปแบบที่แท้จริงและรูปแบบที่กำหนด  ถึงแม้ระดับนัยที่สำคัญที่เกิดขึ้นจริงและอำนาจการทดสอบของตัวสถิติ  จุง บ๊อกซ์ จะแตกต่างไปในแต่ละกรณีของรูปแบบที่จริงและรูปแบบที่กำหนด  แต่ผลที่ได้ตรงกันเกือบทุกกรณี คือ เมื่อ m มีค่าสูงขึ้น  ระดับนัยสำคัญที่เกิดขึ้นจริงไม่แตกต่างกัน  และมีค่าใกล้เคียงกับระดับนัยสำคัญที่กำหนด  ในขณะที่อำนาจการทดสอบมีแนวโน้มลดต่ำลง  ดังนั้นการพิจารณาเลือกใช้ค่า m จึงอยู่ที่วัตถุประสงค์ในการทดสอบความเหมาะสมของรูปแบบ  กล่าวคือ  หากต้องการควบคุมระดับนัยสำคัญที่สำคัญที่เกิดขึ้นจริงให้ใกล้เคียงกับระดับนัยสำคัญที่กำหนด  ควรใช้ m ที่มีค่าสูง  แหละหากต้องการให้ตัวสถิติ จุง บ๊อกซ์ มีอำนาจการทอสอบสูง  ควรใช้  m ที่มีค่าต่ำ  แต่ถ้าต้องการควบคุมระดับนัยสำคัญที่เกิดขึ้นจริงไม่ให้สูงเกินไป  และขณะเดียวกันต้องการให้ทีอำนาจการทดสอบไม่ต่ำนัก  ควรใช้ m ที่มีค่ากลางๆ

 

Today, there have been 5 visitors (6 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free