math - งานวิจัยที่ 4
  Home
  Contact
  Guestbook
  ประวัติ ปาสคาล (Blaise Pascal)
  งานวิจัยที่ 1
  งานวิจัยที่ 2
  งานวิจัยที่ 3
  งานวิจัยที่ 4
  งานวิจัยที่ 5
  พีธาคอรัส
  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
  ยูคลิด
  ไฮพาเทีย
  ออกัสตา แอดา ไบรอน
  ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล
  โซฟี เกอร์มัง
  เอมมี่ โนเตอร์
  เธลิส
  กาลิเลโอ กาลิเลอี
  ฟริดริก เกาส์
  แฟร์มาต์
  เซอร์ ไอแซค นิวตัน
  อาร์คีมีดีส
  นิโคลาส โคเปอร์นิคัส
  ชาร์ลส แบบเบจ
  จอห์น แนช จูเนียร
  George Cantor
  เซอร์ วิลเลียม โรแวน แฮมิลทัน
  เรอเน เดส์การ์ตส์
  จอห์น ฟอน นอยมันน์
  โยเชียร์ วิลลาร์ด กิบส์
  เลออนฮาร์ด ออยเลอร์
  จอห์น เนเปียร์
  พอล แอร์ดิช
  แอลัน ทัวริง
  อองรี ปวงกาเร
  นีลส์ เฮนริก อาเบล
  อันเดรย์ คอลโมโกรอฟ
  ศรีนิวาสะ รามานุชัน
  ประวัติส่วนตัว

 

ผู้วิจัย นายนิธิภัทร  กมลสุข

หน่วยงานที่ทำ บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พ.ศ. 2547

วัตถุประสงค์

1.  เพื่อที่จะหาค่าเหมาะสมที่สุด  ของพารามิเตอร์ในฟังก์ชันมาตรฐานที่ทำให้ได้ค่าทดสอบสถิติมีค่าน้อยที่สุด   เมือ่ทำการทดสอบการแจกแจงของข้อมูลโดยใช้การทดสอบแบบไคสแควร์

          2. เพื่อทำให้การทดสอบการแจกแจงของข้อมูลแบบ  ไคสแควร์   มีประสิทธิ์ภาพที่สูงสุดเมื่อใช้ทดสอบการแจกแจงของข้อมูล

                3. เพื่อวางแนวทางในการกำหนดค่าพารามิเตอร์ของฟังก์ชันมาตรฐานที่นำมาใช้ในการทดสอบการแจกแจงของข้อมูล

สรุปผลและข้อเสนอแนะ

          ในการทดสอบการแจกแจงของข้อมูลชุดที่ 1ชุดที่ 2 และชุดที่ 3  ว่ามีการแจกแจงคล้ายคลึงกับการแจกแจงแบบเอ็กซ์โปเนนเชียลหรือไม่  เมื่อหาค่าเหมาะสมที่สุดของตัวพารามิเตอร์โดยใช้วิธีการกำหนดค่าฟังก์ชันเข้าสู้สมการกำลังสองโดยไม่ใช้อนุพันธุ์ของฟังก์ชัน  พบว่า  มีค่าน้อยกว่าค่าพารามิเตอร์ที่ประมาณจากค่าเฉลี่ย  และความแปรปรวนของข้อมูลเพียงเล็กน้อย  จึงทำให้ค่าทดสอบสถิติ x2  ที่น้อยที่สุด  แตกต่างจากค่าทดสอบสถิติ x2  ที่คำนวณจาค่าพารามิเตอร์ที่ประมาณจากค่าเฉลี่ย  และความแปรปรวนของข้อมูลเพียงเล็กน้อยเช่นเดียวกัน  และเมื่อทดสอบการแจกแจงที่ระดับนัยสำคัญต่างๆ  จะให้ผลการทดสอบที่ได้เหมือนกัน  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเราสามารถหาค่าเหมาะสมที่สุดของพารามิเตอร์  เพื่อทำให้ได้ค่าทดสอบสถิติ x2  มีค่าน้อยที่สุดที่ใช้ทดสอบการแจกแจงของข้อมูล  ว่ามีการแจกแจงคล้ายคลึงกับการแจกแจงแบบเอ็กซ์โปเนนเชียลหรือไม่  และค่าทดสอบสถิติ x2  นี้ยังเป็นค่าที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจ  ต่อผลการทดสอบการแจกแจงของข้อมูลว่ามีการแจกแจงคล้ายคลึงกับการแจกแจงเอ็กซ์โปเนนเชียลหรือไม่  ได้อีกด้วย  ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ   ของการทดสอบการแจกแจงของข้อมูล   และเนื่องจากค่าพารามิเตอร์ที่ประมาณจากค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนของข้อมูลมีค่าใกล้เคียงกับค่าพารามิเตอร์ที่ทำให้ได้ค่าทดสอบสถิติ x2 มีค่าน้อยที่สุด  ดังนั้นเราอาจจะได้แนวทางหนึ่งในการกำหนดค่าพารามิเตอร์ที่จะใช้ในการทดสอบการแจกแจงของข้อมูล  คือกำหนดค่าพารามิเตอร์จากค่าที่ทำให้ได้ตัวทดสอบสถิติ x2  มีค่าน้อยที่สุด

                เมื่อทดสอบการแจกแจงของข้อมูลชุดที่ 4 ว่ามีการแจกแจงคล้ายคลึงกับการแจกแจงแบบแกม  ม่า  หรือไม่  เมื่อหาค่าเหมาะสมที่สุดของตัวพารามิเตอร์  โดยวิธีของพาวเวลล์ร่วมกับการกำหนดฟังก์ชันเข้าสู่สมการกำลังสองโดยไม่ใช้อนุพันธ์ของฟังก์ชัน   พบว่าได้ค่าทดสอบสถิติx2  ที่น้อยที่สุด  น้อยกว่าค่าทดสอบสถิติ  x2  ที่คำนวณจากค่าพารามิเตอร์ที่ประมาณขึ้นจากค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนของข้อมูล  และจากผลการทดสอบการแจกแจงเมื่อใช้ตัวทดสอบสถิติ x2  ที่น้อยที่สุดกับตัวทดสอบสถิติ x2  ที่คำนวณจากค่าพารามิเตอร์ที่ประมาณจากค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนของข้อมูล  ที่ระดับนัยสำคัญ  0.10, 0.05, 0.025, 0.01 และ 0.005  ให้ผลการทดสอบเหมือนกันและในการทดสอบการแจกแจงของข้อมูลชุดที่ 5  พบว่าค่าทดสอบสถิติ x2  ที่น้อยที่สุดจะทำให้มีโอกาสในการผ่านการทดสอบมีมากขึ้น   เพราะจากการทดสอบการแจกแจงที่ระดับนัยสำคัญ 0.10 พบว่าหากใช้ค่าทดสอบสถิติ x2 ที่น้อยที่สุดจะทำให้ผ่านการทดสอบ  ในขณะที่หากใช้ค่าทดสอบสถิติ x2 ที่คำนวณจากค่าพารามิเตอร์ที่ประมาณจากค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนของข้อมูลจะไม่ผ่านการทดสอบ

 

Today, there have been 15 visitors (17 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free