math - นิโคลาส โคเปอร์นิคัส
  Home
  Contact
  Guestbook
  ประวัติ ปาสคาล (Blaise Pascal)
  งานวิจัยที่ 1
  งานวิจัยที่ 2
  งานวิจัยที่ 3
  งานวิจัยที่ 4
  งานวิจัยที่ 5
  พีธาคอรัส
  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
  ยูคลิด
  ไฮพาเทีย
  ออกัสตา แอดา ไบรอน
  ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล
  โซฟี เกอร์มัง
  เอมมี่ โนเตอร์
  เธลิส
  กาลิเลโอ กาลิเลอี
  ฟริดริก เกาส์
  แฟร์มาต์
  เซอร์ ไอแซค นิวตัน
  อาร์คีมีดีส
  นิโคลาส โคเปอร์นิคัส
  ชาร์ลส แบบเบจ
  จอห์น แนช จูเนียร
  George Cantor
  เซอร์ วิลเลียม โรแวน แฮมิลทัน
  เรอเน เดส์การ์ตส์
  จอห์น ฟอน นอยมันน์
  โยเชียร์ วิลลาร์ด กิบส์
  เลออนฮาร์ด ออยเลอร์
  จอห์น เนเปียร์
  พอล แอร์ดิช
  แอลัน ทัวริง
  อองรี ปวงกาเร
  นีลส์ เฮนริก อาเบล
  อันเดรย์ คอลโมโกรอฟ
  ศรีนิวาสะ รามานุชัน
  ประวัติส่วนตัว

 

  นิโคลาส โคเปอร์นิคัส
                                                   Nicolas Copernicus

   
9 กุมภาพันธ์ 2016 (ค.ศ.1473) วันเกิดของ”นิโคลาส โคเปอร์นิคัส NICOLAUS COPERNICUS”นายแพทย์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ เป็นชาวโปล    เกิดที่เมืองตุรัน ประเทศโปแลนด์ ในสมัยของเขานั้นนักดาราศาสตร์ทั้งหลายเชื่อตามทฤษฎีที่”ปโตเลมี”ตั้งไว้ราว 1,400 ปีมาแล้วว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลและไม่เคลื่อนที่ แต่”โคเปอร์นิคัส COPERNICUS”เป็นบุคคลแรกที่กล่าวถึงทฤษฎีเกี่ยวกับการหมุนของระบบสุริยะว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของสุริยะจักรวาล มีโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่นๆหมุนอยู่โดยรอบ จึงถือกันว่าเขาเป็นบิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่”โคเปอร์นิคัส COPERNICUS”ศึกษาวิชาแพทย์ รวมไปถึงคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ที่คราเครา หลังสำเร็จการศึกษาเขาได้เดินทางไปยังอิตาลี ที่นั่นเขาศึกษาเกี่ยวกับดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ และทดลองเรื่องวิทยาศาสตร์แนวใหม่ว่าด้วยการมองเห็น เขาสร้างกล้องส่องทางไกลง่ายๆขึ้นเป็นชิ้นแรก แม้จะไม่ได้ใช้มันในการส่องท้องฟ้าก็ตาม ในอีกเกือบหนึ่งศตวรรษถัดมา “กาลิเลโอ GALILEO”เป็นผู้ที่ใช้กล้องโทรทัศน์ส่องดูท้องฟ้าเป็นคนแรก
         เมื่อกลับสู่”พอเมอราเนีย”ในปี ค.ศ.1505 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแพทย์แทนลุงของเขา นักดาราศาสตร์ตะวันตกเชื่อตามทฤษฎีของ”ปโตเลมี”ที่คิดขึ้นในปี 150 และมีพื้นฐานจากหลักของ”อริสโตเติล”มาตลอดคือ เชื่อว่าดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ และดาวเคราะห์ ล้วนหมุนรอบโลก และโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล จนกระทั่งเขาพิสูจน์ว่า ที่จริงแล้วเป็นตรงกันข้าม การศึกษาของ”โคเปอร์นิคัส COPERNICUS”ในช่วง 25 ปีแรกทำให้เขาเชื่อว่าการทำงานของจักรวาลนั้นไม่ซับซ้อนอย่างที่นักดาราศาสตร์ยุคกลางเคยคิดกัน และดวงอาทิตย์ก็เป็นศูนย์กลางของสุริยะจักรวาล ในขณะที่โลกและดาวเคราะห์อื่นๆ หมุนรอบดวงอาทิตย์ ผลงานของเขาชื่อ ON THE REVOLUTION OF THE CELESTIAL SPHERES เสร็จเมื่อปี 1530 แต่เนื่องจากศาสนจักรโรมันคาทอลิกเป็นปรปักษ์กับทฤษฎีของเขา หนังสือจึงไม่ได้ตีพิมพ์จนกระทั่งปีที่เขาเสียชีวิต ศาสนจักรยังคงปฏิเสธการค้นพบของเขาต่อมานานถึง 100 ปี เขาถูกหาว่าเป็นพวกนอกรีต ศาสนจักรเปลี่ยนความเห็นในปลายศตวรรษที่ 17 หลังจากการสังเกตของ”กาลิเลโอ” และทฤษฎีของ”โยฮันเนส เคปเลอร์ KEPLER” ที่ว่าดาวเคราะห์เคลื่อนที่เป็นวงรีได้ยืนยันทฤษฎีของ”โคเปอร์นิคัส COPERNICUS”
  
         โคเปอร์นิคัส มิได้ใช้ความรู้ความสามารถทางการแพทย์ที่ไดศึกษามาแม้แต่น้อย  แต่เขาเคยเป็นพระอยู่ระยะหนึ่งและเป็นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งโรม  ประเทศอิตาลี  ก่อนที่จะทุ่มเทศึกษาค้นคว้าทางดาราศาสตร์อย่างจริงจัง  โคเปอร์นิคัสเป็นนักดาราศาสตร์ที่ไม่เคยใช้กล้องดูดาวเลย  เพราะว่าสมัยนั้นยังไม่มีการคิดค้นขึ้นใช้ เขาจึงสร้างเครื่องมือสำหรับใช้ศึกษาดวงอาทิตย์และดวงดาวทั้งหลายขึ้นเอง   จากนั้นก็ใช้อุปกรณ์นี้เฝ้าสังเกตการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุบนฟากฟ้า  กลางวันสังเกตดวงอาทิตย์  กลางคืนสังเกตดวงดาว  พร้อมกับจดบันทึกไว้อย่างละเอียด  โคเปอร์นิคัสเฝ้าสังเกต ศึกษาค้นคว้า  และทดลอง ด้วยความอุตสาหะวิริยะ อย่างอดทนอยู่นานถึงสามสิบปี  จึงได้รวบรวมบันทึกการศึกษาค้นคว้าเขียนขึ้นเป็นหนังสือชื่อ "การปฏิวัติวงโคจรของดวงดาวในจักรวาล" ซึ่งกล่าวถึงทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาลที่เข้าค้นพบว่า "ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลโดยมีโลกและดาวเคราะห์ทั้งหลายเป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์" นับว่าขัดแย้งกับความเชื่อในสมัยนั้นว่า "โลกเป็นศูนย์กลางของจักร วาล" และเป็นความเชื่อทางศาสนาด้วย และสมัยนั้นประเทศในยุโรปอยู่ใต้อำนาจอันแข็งแกร่งของ ศาสนาจักร เพราะฉะนั้นความเชื่อและความคิดเห็นใดๆ ที่ขัดแย้งกับความเชื่อทางศาสนาจึงเป็นความผิดอย่างร้ายแรงด้วยเหตุนี้  โคเปอร์นิคัสนี้จึงไม่กล้านำผลงานออกเผยแพร่  จนกระทั่งเพื่อนสนิทคนหนึ่งจัดการนำไปพิมพ์ได้สำเร็จก่อนหน้าที่เขาจะเสียชีวิตเพียงไม่กี่ชั่วโมง ถึงกระนั้น เมื่อหนังสือของเขาออกเผยแพร่  ทางศาสนาจักรได้ประกาศห้ามผู้คนเชื่อตามความเห็นในหนังสือของเขามิฉะนั้นจะถูกลงโทษอย่างหนัก
        นิโคลาส โคเปอร์นิคัส ถึงแก่กรรม
เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1543   อายุได้ 70 ปี  เขาได้รับความยกย่องว่าเป็นผู้ค้น พบตำแหน่งของโลกที่ถูกต้องแท้จริง นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้มีความวิริยะอุตสาหะสูงยิ่ง  สมกับเป็นบุคคลสำคัญของโลกผู้หนึ่ง

Today, there have been 28 visitors (32 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free